บทความ

โครงสร้างของเนื้อเยื่อถาวร

รูปภาพ
โครงสร้างของเนื้อเยื่อถาวร เนื้อเยื่อถาวรเป็นเนื้อเยื่อพืชซึ่งเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ที่แปรสภาพมาจากเนื้อเยื่อเจริญ มีรูปร่างคงที่ ไม่มีการแบ่งตัวเพิ่มขึ้นอีก และมีหน้าที่เฉพาะอย่าง ชนิดของเนื้อเยื่อถาวร เนื้อเยื่อถาวรสามารถจำแนกได้ตามระยะการเจริญเติบโตเป็น 2 ชนิด คือ 1. เนื้อเยื่อถาวรปฐมภูมิ (Primary permanent tissue) เป็นเนื้อเยื่อถาวรที่เจริญมาจากเนื้อเยื่อเจริญปฐมภูมิ ได้แก่ เอพิเดอร์มิส พาเรงคิมา คอลเลงคิมา สเกลอเรงคิมา เอนโดเดอร์มิส ไซเลมปฐมภูมิ และโฟลเอ็มปฐมภูมิ เป็นต้น 2. เนื้อเยื่อถาวรทุติยภูมิ (Secondary permanent tissue) เป็นเนื้อเยื่อถาวรที่เจริญมาจากเนื้อเยื่อเจริญทุติยภูมิ ได้แก่ เพริเดิร์ม ไซเลมทุติยภูมิ และโฟลเอ็มทุติยภูมิ เป็นต้น ชนิดของเนื้อเยื่อถาวรจำแนกตามลักษณะของเซลล์แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 1. เนื้อเยื่อถาวรเดี่ยว (Simple permanent tissue) ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ชนิดเดียวกันล้วนๆ ทำหน้าที่อย่างเดียวกัน ได้แก่ เอพิเดอร์มิส พาเรงคิมา คอลเลงคิมา สเกลอเรงคิมา และเพอริเดิร์ม เป็นต้น 2. เนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน (Complex permanent tissue) ประกอบด้วยเซลล์หลายชน

โครงสร้างของเนื้อเยื่อถาวร

รูปภาพ
 โครงสร้างของเนื้อเยื่อถาวร เนื้อเยื่อถาวรเป็นเนื้อเยื่อพืชซึ่งเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ที่แปรสภาพมาจากเนื้อเยื่อเจริญ มีรูปร่างคงที่ ไม่มีการแบ่งตัวเพิ่มขึ้นอีก และมีหน้าที่เฉพาะอย่าง ชนิดของเนื้อเยื่อถาวร เนื้อเยื่อถาวรสามารถจำแนกได้ตามระยะการเจริญเติบโตเป็น 2 ชนิด คือ 1. เนื้อเยื่อถาวรปฐมภูมิ (Primary permanent tissue) เป็นเนื้อเยื่อถาวรที่เจริญมาจากเนื้อเยื่อเจริญปฐมภูมิ ได้แก่ เอพิเดอร์มิส พาเรงคิมา คอลเลงคิมา สเกลอเรงคิมา เอนโดเดอร์มิส ไซเลมปฐมภูมิ และโฟลเอ็มปฐมภูมิ เป็นต้น 2. เนื้อเยื่อถาวรทุติยภูมิ (Secondary permanent tissue) เป็นเนื้อเยื่อถาวรที่เจริญมาจากเนื้อเยื่อเจริญทุติยภูมิ ได้แก่ เพริเดิร์ม ไซเลมทุติยภูมิ และโฟลเอ็มทุติยภูมิ เป็นต้น ชนิดของเนื้อเยื่อถาวรจำแนกตามลักษณะของเซลล์แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 1. เนื้อเยื่อถาวรเดี่ยว (Simple permanent tissue) ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ชนิดเดียวกันล้วนๆ ทำหน้าที่อย่างเดียวกัน ได้แก่ เอพิเดอร์ม

ฮอร์โมนจากต่อไพเนียล

รูปภาพ
        ฮอร์โมนจากต่อไพเนียล ต่อมไพเนียล ( pineal gland) เป็นต่อมเล็กๆ ที่อยู่ระหว่างสมองส่วน cerebrum พูซ้ายและ พูขวา ต่อมไพเนียลจะสร้างฮอร์โมน melatonin Melatonin เป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญในคนและสัตว์ชั้นสูงในช่วงก่อนวัยหนุ่มสาว โดยจะไปยับยั้งการเจริญของอวัยวะสืบพันธุ์ ถ้าต่อมนี้เกิดผิดปกติและผลิตฮอร์โมนนี้มากเกินไปจะทำให้เป็นหนุ่มสาวช้าลงกว่าปกติ ในสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำบางชนิด เช่น ปลาปากกลมต่อมไพเนียลจะไม่ได้ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน แต่จะทำหน้าที่เป็นกลุ่มเซลล์รับแสง ( photoreceptor) การหลั่งฮอร์โมนของต่อมนี้ จะหลั่งได้ดีในกรณีอยู่ในที่มืดในสัตว์พวกที่อยู่ในที่มีแสงสว่างมากจะหลั่งน้อย พวกสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และสัตว์เลื้อยคลานบางชนิด ซึ่งเป็นสัตว์เลือดเย็น ฮอร์โมนนี้จะไปช่วยในการปรับสีของผิวหนังให้จางลง (ทำหน้าที่ตรงกันข้ามกับ MSH จากต่อมใต้สมองส่วนกลาง)  

โครงสร้างของเนื้อเยื่อเจริญ

รูปภาพ
โครงสร้างของเนื้อเยื่อเจริญ เนื้อเยื่อเจริญคือ เนื้อเยื่อพืชซึ่งประกอบด้วยเซลล์ที่สามารถแบ่งตัวแบบไมโทซิส (Mitosis) ได้ตลอดเวลา ลักษณะเป็นเซลล์ที่มีชีวิต มีรูปร่างหลายแบบ ส่วนมากรูปร่างหลายเหลี่ยมหรือค่อนข้างกลม มีขนาดเล็ก ผนังเซลล์บาง นิวเคลียสใหญ่ ไซโทพลาสซึมเต็มเซลล์ แวคิวโอลเล็กหรือไม่มีการเรียงตัวของเซลล์อยู่ชิดกันมากจนไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์ (Intercellular space) เซลล์ของเนื้อเยื่อเจริญเหล่านี้เมื่อหยุดแบ่งตัวแล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงสภาพไปเป็นเนื้อเยื่อถาวรต่อไป ชนิดของเนื้อเยื่อเจริญเมื่อจำแนกตามตำแหน่งที่อยู่ในส่วนของพืชแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ 1. เนื้อเยื่อเจริญปลายยอด (Apical meristem) เป็นเนื้อเยื่อเจริญที่อยู่บริเวณปลายยอด ปลายราก ปลายกิ่ง และที่ตา ทำหน้าที่ช่วยให้ส่วนต่างๆ ของพืชยืดยาวและสูงขึ้น 2. เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง (Lateral meristem) เป็นเนื้อเจริญที่อยู่บริเวณด้านข้างของลำต้นและรากในพืชใบเลี้ยงคู่ที่มีการเจริญทุติยภูมิ ทำหน้าที่ช่วยเพิ่มขนาดทางด้านข้างหรือเพิ่มความหนาของลำต้นและราก

ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์

รูปภาพ
ต่อมไทรอยด์( Thyroid gland)            ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ ต่อมไทรอยด์( Thyroid gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่มีขนาดใหญ่ มี 2 lobe อยู่บริเวณลำคอ หน้าหลอดลมใต้กล่องเสียงเล็กน้อย ต่อมนี้สร้างฮอร์โมน 2 ชนิด คือ 1.       Thyroxin เป็นสารอนุพันธ์ของกรดอมิโน ช่วยเร่งอัตราเมแทบอลิซึมของร่างกาย ในสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ช่วยให้เกิด metamorphosis เร็วขึ้น ฮอร์โมนนี้จำเป็นต่อการเจริญและการพัฒนาการของร่างกายโดยเฉพาะสมอง ถ้าขาดฮอร์โมนไทรอกซิน ในเด็กจะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง สติปัญญาไม่ดี อวัยวะเพศไม่เจริญ ร่างกายเตี้ยแคระ เรียกกลุ่มอาการนี้ว่า Cretinism ส่วนในผู้ใหญ่จะมีอาการเหนื่อยง่าย ซึม อ้วนง่าย ผมและผิวหนังแห้ง ความจำเสื่อม กล้ามเนื้ออ่อนแรง เฉื่อยชา เรียกกลุ่ม อาการนี้ว่า Myxedema นอกจากนี้การขาดธาตุไอโอดีน ยังมีผลทำให้ต่อมไทรอยด์ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนไทรอกซินได้ ส่งผลให้เป็น โรคคอพอก ( Simple goiter หรือ endemic goiter) เพราะเมื่อร่างกายขาดไทรอกซิน จะมีผลให้ Hypotalamus หลั่งสารเคมีมากระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหน้าให้หลั่งฮอร์โมน TSH ส่งมาที่ต่อมไทรอยด์มากกว่าปกติ เมื่อต่อมถูกกระตุ้น

ฮอร์โมนจากอวัยวะสืบพันธุ์

รูปภาพ
ฮอร์โมนจากอวัยวะสืบพันธุ์ ต่อมเพศ ( gonad gland) หมายถึง อวัยวะสืบพันธุ์คืออัณฑะ หรือ รังไข่   1.       อัณฑะ ( testis) ภายในอัณฑะมีกลุ่มเซลล์ interstitial cell เป็นแหล่งที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศชายฮอร์โมนที่ถูกสร้างเป็นสารส เตียรอยด์ ที่เรียกว่า androgens ประกอบด้วยฮอร์โมนหลายชนิด ที่สำคัญคือ testosterone ทำหน้าที่ควบคุมลักษณะของเพศชาย เช่น เสียงแตก นมขึ้นพาน มีหนวดบริเวณที่ริมฝีปาก กระดูกหัวไหล่กว้าง 2.       รังไข่( ovary ) เป็นแหล่งสร้างฮอร์โมนเพศหญิง ต่อมเพศอยู่ในรังไข่ทั้ง 2 ข้าง มีแหล่งสร้างฮอร์โมน 2 แหล่ง คือ follicle ในรังไข่ และ corpus luteum ฮอร์โมนที่สร้างได้มี 2 ชนิด คือ 1.1       Estrogen เป็นฮอร์โมนที่สร้างจาก follicle ทำหน้าที่ควบคุมลักษณะเพศหญิง การมีประจำเดือน เตรียมการตั้งครรภ์ ห้ามการสร้างไข่ โดยห้าม FSH จากต่อมใต้สมองและ กระตุ้นให้มีการหลั่ง LH แทน 1.2       Progesterone สร้างจาก corpus luteum มีหน้าที่ในการกระตุ้นให้ผนังมดลูกหนา ห้ามการมีประจำเดือน ห้ามการตกไข่ ให้ต่อมน้ำนมเจริญมากขึ้น ป้องกันการแท้งบุตร อยู่ภายใต้การควบคุมของฮอร์โมน FSH และ LH

ฮอร์โมนจากต่อมพาราไทรอยด์

รูปภาพ
        ฮอร์โมนจากต่อมพาราไทรอยด์   ต่อมพาราไทรอยด์ ( parathyroid gland) มีขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว มีอยู่ด้วยกัน 4 ต่อม ฝังอยู่ด้านหลังของต่อมไทรอยด์ข้างละ 2 ต่อม ฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมนี้คือ parathormone Parathormone เป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในเลือดและเนื้อเยื่อให้ปกติ ช่วยให้ไตและลำไส้เล็กดูดแคลเซียมกลับคืนได้มากขึ้น โดยทำงานร่วมกับวิตามิน ซี และ ดี ทำหน้าที่ควบคุมแคลเซียม กับ Calcitonin ถ้าขาดฮอร์โมนชนิดนี้ จะทำให้การดูดแคลเซียมกลับที่ท่องของหน่วยไตลดน้อยลง แต่จะมีฟอสฟอรัสมากขึ้น มีผลทำให้เกิดตะคริวชักกระตุก กล้ามเนื้อเกร็งเรียกการเกิด tetany แก้โดยลดอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูงๆ และเพิ่มแคลเซียมหรือฉีดวิตามิน D แต่ในกรณีที่มีมากเกินไปจะทำให้กระดูกและฟันไม่แข็งแรงประสาทตอบสนองได้น้อย กล้ามเนื้อเปลี้ย ปวดกระดูก