บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2022

โครงสร้างของเนื้อเยื่อถาวร

รูปภาพ
 โครงสร้างของเนื้อเยื่อถาวร เนื้อเยื่อถาวรเป็นเนื้อเยื่อพืชซึ่งเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ที่แปรสภาพมาจากเนื้อเยื่อเจริญ มีรูปร่างคงที่ ไม่มีการแบ่งตัวเพิ่มขึ้นอีก และมีหน้าที่เฉพาะอย่าง ชนิดของเนื้อเยื่อถาวร เนื้อเยื่อถาวรสามารถจำแนกได้ตามระยะการเจริญเติบโตเป็น 2 ชนิด คือ 1. เนื้อเยื่อถาวรปฐมภูมิ (Primary permanent tissue) เป็นเนื้อเยื่อถาวรที่เจริญมาจากเนื้อเยื่อเจริญปฐมภูมิ ได้แก่ เอพิเดอร์มิส พาเรงคิมา คอลเลงคิมา สเกลอเรงคิมา เอนโดเดอร์มิส ไซเลมปฐมภูมิ และโฟลเอ็มปฐมภูมิ เป็นต้น 2. เนื้อเยื่อถาวรทุติยภูมิ (Secondary permanent tissue) เป็นเนื้อเยื่อถาวรที่เจริญมาจากเนื้อเยื่อเจริญทุติยภูมิ ได้แก่ เพริเดิร์ม ไซเลมทุติยภูมิ และโฟลเอ็มทุติยภูมิ เป็นต้น ชนิดของเนื้อเยื่อถาวรจำแนกตามลักษณะของเซลล์แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 1. เนื้อเยื่อถาวรเดี่ยว (Simple permanent tissue) ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ชนิดเดียวกันล้วนๆ ทำหน้าที่อย่างเดียวกัน ได้แก่ เอพิเดอร์ม

ฮอร์โมนจากต่อไพเนียล

รูปภาพ
        ฮอร์โมนจากต่อไพเนียล ต่อมไพเนียล ( pineal gland) เป็นต่อมเล็กๆ ที่อยู่ระหว่างสมองส่วน cerebrum พูซ้ายและ พูขวา ต่อมไพเนียลจะสร้างฮอร์โมน melatonin Melatonin เป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญในคนและสัตว์ชั้นสูงในช่วงก่อนวัยหนุ่มสาว โดยจะไปยับยั้งการเจริญของอวัยวะสืบพันธุ์ ถ้าต่อมนี้เกิดผิดปกติและผลิตฮอร์โมนนี้มากเกินไปจะทำให้เป็นหนุ่มสาวช้าลงกว่าปกติ ในสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำบางชนิด เช่น ปลาปากกลมต่อมไพเนียลจะไม่ได้ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน แต่จะทำหน้าที่เป็นกลุ่มเซลล์รับแสง ( photoreceptor) การหลั่งฮอร์โมนของต่อมนี้ จะหลั่งได้ดีในกรณีอยู่ในที่มืดในสัตว์พวกที่อยู่ในที่มีแสงสว่างมากจะหลั่งน้อย พวกสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และสัตว์เลื้อยคลานบางชนิด ซึ่งเป็นสัตว์เลือดเย็น ฮอร์โมนนี้จะไปช่วยในการปรับสีของผิวหนังให้จางลง (ทำหน้าที่ตรงกันข้ามกับ MSH จากต่อมใต้สมองส่วนกลาง)