การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว



การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
1. การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
โพรทิสต์ (protist) เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอยู่ในอาณาจักรโพรทิสตา (Protista Kingdom) มีทั้งพวกที่เป็นเซลล์เดียวและหลายเซลล์ พวกโพรทิสต์หลายเซลล์ ไม่มีระบบเนื้อเยื่อและระบบโครงกระดูกจึงมีการเคลื่อนไหวแตกต่างกัน
1.1 การเคลื่อนไหวโดยอาศัยการไหลของไซโทพลาซึม
ไซโทพลาซึม (Cytoplasm) หมายถึง ส่วนของโพรโทพลาซึมภายในเซลล์ทั้งหมด การเคลื่อนไหวโดยใช้ไซโทพลาซึมนี้จะเคลื่อนไหวโดยการยืดส่วนของไซโทพลาซึม ออกจากเซลล์ เ ช่น การเคลื่อนไหวของราเมือก อะมีบา เป็นต้น การเคลื่อนไหวของอะมีบา ซึ่งเป็นโพรทิสต์ที่อาศัย การไหลของไซโทพลาซึมที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เอ็กโทพลาซึม (ectoplasm) เป็นไซโทพลาซึมชั้นนอก มีลักษณะเป็นสารกึ่งแข็งกึ่งเหลว เรียกว่า เจล (gel) และ เอนโดพลาซึม (endoplasm) เป็นไซโทพลาซึมชั้นในมีลักษณะค่อนข้างเหลวกว่าเรียกว่า โซล ( sol)
ภายในไซโทพลาซึมมีไมโครฟิลาเมนต์ (microfilament) เป็นเส้นใยโปรตีน แอกทินและไมโอซิน เป็นโครงสร้างที่ทำให้เอนโดพลาซึมไหลไป- มาภายในเซลล์ได้ และดันเยื่อหุ้มเซลล์ ให้โป่งออกมาเป็น ขาเทียม (pseudopodium) ทำให้อะมีบาเคลื่อนไหวได้ เรียกว่า การเคลื่อนไหวแบบอะมีบา (amoeboid movement)
รูปที่ 1 แสดงจำนวนขาเทียมของอะมีบา เกิดจากการไหลของไซโทพลาซึม
1.2 การเคลื่อนไหวโดยอาศัยแฟลเจลลัมหรือซีเลีย
 การเคลื่อนไหวโดยอาศัยแฟลเจลลัมหรือซีเลียซึ่งเป็นโครงสร้างเล็กๆ ที่ยื่นออกมาจากเซลล์สามารถโบกพัดไปมาได้ ทำให้สิ่งมีชีวิตเคลื่อนที่ไปได้
  •  1) แฟลเจลลัม (flagellum) มีลักษณะเป็นเส้นยาว ๆ คล้ายหนวดยาวกว่า ซีเลีย แฟลเจลลัม เป็นโครงสร้างที่พบในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวบางชนิด เช่น ยูกลีนา (euglena) วอลวอกซ์ (volvox) เป็นต้น
  •   2) ซีเลีย (cilia) มีลักษณะเป็นเส้นเล็ก ๆ ยื่นยาวออกจากเซลล์ของพืช หรือ สัตว์เซลล์เดียว หรือเซลล์สืบพันธุ์ ใช้โบกพัดเพื่อให้เกิดการเคลื่อนที่ภายในน้ำหรือของเหลว พบในพารามีเซียม (paramecium) พลานาเรีย (planaria) เป็นต้น
รูปที่ 2 แสดงแฟลเจลลัมและโครงสร้างภายในของยูกลีนา

 

รูปที่ 3 ภาพโครงสร้างลักษณะภาคตัดขวางของไมโครทูบูล
ที่มา : จักรชัย วรรณาศรี. 


  •  จากการศึกษาโครงสร้างของแฟลเจลลัมและซีเลียตัดตามขวางพบว่ามีโครงสร้างเหมือนกัน คือ ประกอบด้วยหลอดเล็ก ๆ เรียกว่า ไมโครทูบูล (microtubules) เป็นหลอดแกนตรงกลาง 2 หลอด ล้อมรอบด้วยหลอดเล็ก ๆ อีก 9 คู่ ทั้งหมดจะถูกหุ้มด้วยเยื่อบาง ๆ ที่ติดต่อเป็นเนื้อเดียวกับเยื่อหุ้มเซลล์ เรียกโครงสร้างแบบนี้ว่า 9 + 2 ที่โคนของซีเลียและแฟลเจลลัม มีเบซัลบอดี ( basal body)หรือ ไคนีโทโซม (kinetosome) อยู่ด้วย เบซัลบอดี มีไมโครทิวบูล เช่นกัน แต่การเรียงตัวต่างกัน โดยที่หลอดตรงกลาง 2 หลอดไม่มี มีแต่หลอดรอบนอก 9 ชุด เรียกการเรียงตัวแบบนี้ว่า 9 + 0 ถ้าหากตัดเบซัลบอดีออก พบว่าแฟลเจลลัมและซีเลียเส้นนั้น จะหยุดลง จึงเชื่อกันว่าเบซัลบอดี เป็นตัวควบคุมการเคลื่อนไหวของซีเลียและแฟลเจลลัม
รูปที่ 4 การเคลื่อนที่ของพารามีเซียม มีลักษณะหมุนไปหมุนมา และเคลื่อนหนีวัตถุ
  •  พารามีเซียมเคลื่อนที่โดยการโบกพัดของซีเลีย ไปทางด้านหลัง ทำให้ตัวของพารามีเซียมเคลื่อนที่ไปข้างหน้า จากการโบกพัดของซีเลีย ทำให้ตัวพารามีเซียมหมุนไปด้วยเนื่องจากไม่มีอวัยวะคอยปรับสมดุล (หางเสือ) และอีกอย่างหนึ่งเนื่องจากซีเลียที่ร่องปาก ซึ่งมีจำนวนมากกว่าโบกพัดแรงกว่าบริเวณอื่น จึงทำให้หมุน
รูปที่ 5 แสดงการเคลื่อนไหวของซีเลียที่หลอดลมคอ (a-b)และการเคลื่อนที่ของแฟลเจลลัม (c-d )
ที่มา : ประสงค์ หลำสะอาด. ม.ปป. : 4

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แบบทดสอบเรื่องการเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต

การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง