แบบทดสอบเรื่องการเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต



แบบทดสอบเรียนเรื่องการเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต ( 40 ข้อ )

1.  ข้อใดต่อไปนี้จับคู่สิ่งมีชีวิตโครงสร้างที่ใช้ใน
        การเคลื่อนที่ได้ถูกต้อง
            กำหนดให้           A =  ขาเทียม
                     
                                 B = ซิเลีย
                                                     C  =   แฟลเจลลัม
          .  อะมีบา =  B   ,   พารามีเซียม  =  A  ,  ยูกลีนา  =  C
         .   พารามีเซียม  =  B  ,  อะมีบา  =  A  ,  ยูกลีนา  =  C
         .  ยูกลีนา  =  A  ,   พารามีเซียม  =  B   , อะมีบา  =  C
         .  อะมีบา  =  C  ,   พารามีเซียม  =  A   , ยูกลีนา  = B
2.              ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของอะมีบา
ก.      เกิดการสลายตัวของโปรตีนแอกติน
ข.      เกิดการไหลของ  โซลก่อนเจล
ค.       เกิดการเปลี่ยนคุณสมบัติระหว่าง โซลและเจล
ง.       เกิดการยืดตัวของเยื่อหุ้มเซลล์
3.              ข้อใดเปรียบเทียบไมโครฟิลาเมนต์และไมครทูบูลได้ถูกต้อง
ก.      ทั้ง  2  มีแอกตินเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย
ข.      ไมโครฟิลาเมนต์  มีขนาดใหญ่เท่าไมโครทูบูล
ค.      พบทั้ง  2  ชนิดในอะมีบา  ,  พารามีเซียม    และยูกลีนา
ง.       ไมโครทูบูลเป็นส่วนประกอบอยู่ในซิเลีย
แต่ไมโครฟิลาเมนต์พบในแฟลเจลลัม
4.              การเคลื่อนที่แบบอะมีบายังพบในสิ่งมีชีวิตใดต่อไปนี้
ก.      เม็ดเลือดขาว
ข.      เซลล์เยื่อบุลำไส้คน
ค.      เซลล์แบคทีเรีย
ง.       สาหร่ายสีเขียวเซลล์เดียว
5.              รหัส  9+2  คืออะไร  พบที่ตำแหน่งใด
ก.      จำนวนไมโครฟิลาเมนต์  พบที่  ซิเลีย
ข.      จำนวนไมโครทูบูล   พบที่  ซิเลีย
ค.      จำนวนไมโครทูบูล  พบที่เบซัลบอดี
ง.       จำนวนไมโครฟิลาเมนต์  พบที่
 แฟลเจลลัม
6.   รหัส   9+0   คืออะไร  พบที่ตำแหน่งใด
         (ใช้ตัวเลือกในข้อ  5 )
7.              เบซัลบอดีมีความสำคัญต่อการเคลื่อนที่ของยูกลีนาอย่างไร
ก.      เป็นโครงสร้างที่ใช้โบกสะบัดคล้ายใบพัดเรือทำให้ยูกลีนาเคลื่อนที่ได้
ข.      เป็นโครงสร้างที่เปรียบคล้ายเครื่องยนต์ของเรือหางยาวที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่
ค.      เปรียบเสมือนน้ำมันเชื้อเพลิงที่เติมลงในเครื่องยนต์ที่ทำให้ยูกลีนาเคลื่อนที่ได้
ง.       ถูกทุกข้อ
8.              ข้อใดเปรียบเทียบลักษณะของซีเลียและแฟลเจลลัมได้ถูกต้อง
ก.      ซิเลียยาวกว่าแฟลเจลลัม
ข.      ซิเลียมีจำนวนน้อยกว่าแฟลเจลลัม
ค.      ทั้งซิเลียและแฟลเจลลัมต่างก็มีเบซัลบอดีเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย
ง.       ลักษณะการพัดโบกของซิเลียและแฟลเจลลัมทำได้ทิศทางเดียว
9.              โปรตีนไดนีนหรือไดนีนอาร์มมีความสำคัญอย่างไร
ก.      ช่วยยึดไมโครฟิลาเมนต์เข้ากับไมโครทูบูล
ข.      ช่วยยึดเบซัลบอดีกับตัวเซลล์
ค.      ช่วยผลิตพลังงานในการพัดโบกสะบัดของแฟลเจลลัม
ง.       ช่วยยึดไมโครทูบูลเข้าด้วยกันและบังคับให้เกิดการโบกสะบัดในทิศทางที่ต้องการ
จงพิจารณาโครงสร้างต่างๆเหล่านี้แล้วตอบคำถามตั้งแต่ข้อ  10 - 13
1                 =    กล้ามเนื้อวง                                          7     =     ท่อไซฟอน
2                 =    กล้ามเนื้อลำตัว                                     8     =     แอมพูลลา
3                 =    กล้ามเนื้อขอบกระดิ่ง                         9     =     มาครีโพไรต์      
4                   =    กล้ามเนื้อตามยาว                                10   =     ปาก
5                 =    เดือย
6                 =    ทิวป์ฟิต

10.       ไส้เดือนใช้กล้ามเนื้อใดในการเคลื่อนที่
.   1  และ   2                             .  1  และ  3
.   1  และ   4                             .     4
11.       การทำงานของโครงสร้างใดที่ต้องอาศัยแรงดันจากน้ำ
.    5  และ  6                             .  6  และ  7
.    8  และ   9                           .  6   และ  9
12.       แรงดันน้ำ  เกิดจากการทำงานของโครงสร้างใดบ้าง
.  2  และ  8                                               .   6 ,  7  ,  9
.  7  และ  10                             .   6  และ  7
13.       แมางกะพรุนใช้การทำงานของโครงสร้างใดในการเคลื่อนที่
.   1  และ  3                              .  3  และ  4
.   2  และ  3                              .  1   และ  2
14.       สิ่งมีชนิดใดที่มีการทำงานของกล้ามเนื้อแบบสภาวะตรงข้ามทั้งหมด
ก.      ปลาดาว ,  แมลง ,  ไส้เดือน
ข.      แมงกะพรุน,  ปลาดาว  ,  แมลง
ค.      แมลง  ,  ไส้เดือน ,  ปลา
ง.       งู  ,  กบ ,  ปลาดาว
จงพิจารณาสิ่งที่กำหนดให้แล้วตอบคำถามข้อ   15  -  17
ถ้า กำหนดให้
A  =    กล้ามเนื้อยกปีก                                      D  =    กล้ามเนื้อกดปีก
B  =    กล้ามเนื้อเฟล์กเชอร์                             E  =    กล้ามเนื้อเอ็กเทนเซอร์
C  =    กล้ามเนื้อยึดเปลือกหุ้มชั้นอก             F  =    กล้ามเนื้อตามยาว
15. ขณะตั๊กแตนกระโดดกล้ามเนื้อใดทำงาน
.    A  =   หด  ,  B =  คลาย
.   C  =    หด ,   F  =  คลาย
.   E  =    หด  ,   B  =  คลาย
.   E  =    คลาย  ,  B  =  หด
16.   ถ้า   A  =  คลาย  แต่   D  =  หด  จะเกิดอะไรขึ้น
ก.      ปีกนกจะหุบลง
ข.      ปีกนกจะยกขึ้น
ค.      ปีกแมลงจะหุบลง
ง.       ปีกแมลงจะยกขึ้น
17.  แมลงใช้กล้ามเนื้อคู่ใดช่วยให้บินได้
ก.      A  และ  C
ข.      B  และ  E
ค.      C  และ  F
ง.       A  และ  D
18.  ข้อใดกล่าวถึงการเคลื่อนที่ของปลาได้ถูกต้อง
ก.      เกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อแบบสภาวะตรงกันข้ามตลอดบริเวณลำตัวหลายจุดสลับกัน
ข.      เมือกนอกจากจะช่วยลดแรงเสียดทานแล้วยังช่วยรักษาทิศทางขณะเคลื่อนที่ด้วย
ค.      การว่ายน้ำในแนวดิ่งใช้เฉพาะครีบอกเท่านั้น
ง.       ครีบหางมีขนาดในการรักษาสมดุลย์ไม่ให้เอียงมากกว่าการทำให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้า
19.       กระดูกสันหลังของเสือชีต้าที่โคังงอและแอ่นตัวยืดออกได้ดีมีผลต่อสิ่งใดมากที่สุด
ก.      ความทนทานในการวิ่ง
ข.      ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา
ค.      ช่วงเก้าเท้ายาว
ง.       ถูกทุกข้อ
20.       กระดูกใดที่ไม่จัดเป็นกระดูกรยางค์
ก.      กระดูกเชิงกราน
ข.      กระดูกสะบัก
ค.      กระดูกกระเบนเหน็บ
ง.       กระดูกไหปลาร้า
21.       ข้อใดกล่าวถึงลักษณะของกระดูกได้ถูกต้อง
ก.      กระดูกซี่โครงคู่ที่  12  และ  13  ปลายด้านหน้าจะไม่ยึดติดกับกระดูกหน้าอกจึงเรียกซี่โครงลอย
ข.      กระดูกในร่างกายมีทั้ง  216  ชิ้น  เป็นกระดูกแกน 80 ชิ้นกระดูกรยางค์  136 ชิ้น
ค.      กระดูกต้นแขนจะต่ออยู่กับกระดูกสะบ้าที่บริเวณหัวไหล่
ง.       กระดูกเชิดกรานไม่ได้เชื่อมต่อกับกระดูกสันหลัง
22.  หมอนรองกระดูกพบบริเวณใด
ก.      ปลายข้อต่อระหว่างกระดูกนิ้วมือนิ้วเท้า
ข.      ระหว่างกระดูกสันหลังด้วยกัน
ค.      ระหว่างข้อพับที่เข่าและข้อศอก
         ง.       ระหว่างกระดูกซี่โครงกับกระดูกหน้าอก
23.  ข้อใดกล่าวถึงลักษณะของไขกระดูกไม่ถูกต้อง
ก.      ในเด็กไขกระดูกมีเซลล์ใขกระดูกช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว
ข.      ในไขกระดูกพบว่ามีหลอดเลือดและเส้นใยประสาท
ค.      ไขกระดูกพบที่บริเวณส่วนปลายของกระดูกแขนและขา  ที่เป็นกระดูกท่อนยาว
ง.       ไขกระดูกไม่สามารถเปลี่ยนถ่ายกันได้
24.  ข้อต่อชนิดลูกกลมในเบ้าพบที่ใด
.   ข้อศอก                   .  หัวไหล่
.   หัวเข่า                    .  นิ้วหัวแม่มือ
25.  ข้อต่อแบบอานม้าพบที่ใด
.  กระดูกสันหลัง        .  หัวเข่า
.  โคนนิ้วมือ                                .  ฝ่ามือ , ฝ่าเท้า
26.       บริเวณข้อศอกพบข้อต่อแบบใด
ก.      บานพับ  และ  สไลด์
ข.      แบบเดือย  และ  บานพับ
ค.      ลูกกลมในเบ้า
ง.       อานม้า  กับ  บานพับ
27.       ข้อใดกล่าวถึงน้ำไขข้อไม่ถูกต้อง
ก.      นำอาหารไปเลี้ยงเซลล์กระดูกบริเวณข้อต่อต่างๆ
ข.      ช่วยลดการเสียดสีและการเสียดทานทำให้ไม่เจ็บและเคลื่อนไหวได้คล่อง
ค.      พบอยู่ระหว่างชั้นของกระดูกอ่อนบริเวณข้อต่อทั่วๆไป
ง.       น้ำไขข้อมีโอกาสลดน้อยลงเมื่อเข้าสู่วัยชรา
28.       ข้อต่อที่เคลื่อนไหวไม่ได้พบที่ใดบ้าง
.  สันหลังกับกระเบนเหน็บ
.  ซี่โครงกับอก
.  กระเบนเหน็บกับเชิงกราน
.  สะบักกับแขน
29.       ข้อต่อคู่ใดที่มีลักษณะการเคลื่อนไหวเหมือนกันมากที่สุด
ก.      ข้อมือ  กับ  เข่า
ข.      ไหล่ กับฐานของกะโหลกต่อกับสันหลัง
ค.      สันหลัง กับโคนนิ้วชี้
ง.       ข้อศอก กับฐานของกะโหลกต่อกับสันหลั
30.       ถ้านักเรียนกางแขนออก  กล้ามเนื้อไบเซพและไตรเซพทำงานอย่างไร
ก.      ไบเซพหดตัว ,  ไตรเซพคลายตัว
ข.      ไบเซพคลายตัว  ,  ไตรเซพหดตัว
ค.      ไบเซพหดตัว  ,  ไตรเซพหดตัว
ง.        ไบเซพคลายตัว  ,  ไบเซพคลายตัว
31.       นักเรียนคิดว่ากล้ามเนื้อไบเซพ และไตเซพจะหดตัวพร้อมกันในกรณีใดต่อไปนี้
ก.      ดำใช้มือหิ้วถังน้ำที่มีน้ำอยู่เต็มถังหนัก  30  กิโลกรัม
ข.      แดงชูมือขึ้นเหนือศีรษะ
ค.      ไม่มีทางเป็นไปได้เพราะไบเซพ และไตรเซพจะทำงาน
ตรงข้ามกันคือฝ่ายหนึ่งหดอีกฝ่ายจะคลาย
ง.         และ    ถูกต้อง
32.       นักฟุตบอลอาชีพที่โดนเตะด้านหลังโดยเฉพาะบริเวณข้อเท้าด้านหลังถึงแม้ว่ากระดูกข้อเท้าจะไม่เป็นอะไรแต่มีผลทำให้เกิดการบาดเจ็บอย่างรุนแรงจนอาจเลิกเล่นฟุตบอลได้อาการบาดเจ็บนั้นน่าจะเกิดจากอะไรเป็นสำคัญ
ก.      กล้ามเนื้อโคนขาฉีกขาด
ข.      เอ็นร้อยหวายฉีกขาด
ค.      เอ็นที่หัวเข่าฉีกขาด
ง.       กระดูกข้อเท้าแตก
33.       ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก.      เอ็นยึดข้อช่วยให้ข้อต่อของกระดูก 2 ชิ้นติดกันแต่เอ็นยึดกระดูกจะช่วย
ให้เกิดการเคลื่อนไหวของข้อต่อหรืออวัยวะได้
ข.      เอ็นยึดกระดูกจะพบอยู่บริเวณส่วนกลางของมัดกล้ามเนื้อ
ค.      ทั้งเอ็นยึดข้อและเอ็นยึดกระดูกจะมีทั้งความเหนียวและแข็งไม่สามารถยืดหยุ่นได้
ง.       ทั้งเอ็นยึดข้อและเอ็นยึดกระดูก  ถ้าฉีกขาดไม่สามารถประสานและเชื่อมต่อได้คล้ายกระดูก
34.       ผนังหลอดเลือด  เป็นกล้ามเนื้อชนิดใด
ก.      กล้ามเนื้อลาย
ข.      กล้ามเนื้อหัวใจ
ค.      กล้ามเนื้อเรียบ
ง.         หรือ    ก็ได้ขึ้นอยู่กับว่าเป็นผนังหลอดเลือดบริเวณใด
35.       กล้ามเนื้อชนิดใดที่ทำงานนอกอำนาจจิตใจคล้ายกับหัวใจ
ก.      กล้ามเนื้อที่ลิ้น
ข.      กล้ามเนื้อม่านตา
ค.      กล้ามเนื้อบริเวณหน้าผาก
ง.       กล้ามเนื้อขากรรไกร
36.       ลักษณะเซลล์กล้ามเนื้อเป็นรูปทรงกระบอกยาว1เซลล์มี1นิวเคลียสจะพบที่ที่ใด
ก.      หัวใจ
ข.      กระเพาะอาหาร
ค.      ลำไส้
ง.       แขน
37.       เซลล์กล้ามเนื้อที่มีลักษณะ  เรียวยาว  แหลมหัวแหลมท้าย  คือกล้ามเนื้อชนิดใด
ก.      กล้ามเนื้อหัวใจ
ข.      กล้ามเนื้อยึดกระดูก
ค.      กล้ามเนื้อเรียบ
ง.         และ ข
38.       ข้อใดลำดับโครงสร้างของกล้ามเนื้อยึดกระดูก
        จากโครงสร้างเล็กสุดไปใหญ่สุดได้ถูกต้อง
ก.      Myofibril  / Muscle  fiber   / Myofilamen 
.    Muscle  fiber   /  Myofibril  /  Myofilament
.    Myofilament  /  Muscle  fiber /  Myofibril
        .    Myofilament   / Myofibril  / Muscle  fiber
39.       คำอธิบายข้อใดที่ตรงกับสมมุติฐานการทำงานของกล้ามเนื้อที่ฮักซเลย์และแฮนสันเสนอไว้
ก.      แอกติน  2  ด้านเลื่อนเข้าหากัน
ข.      ไมโอซินเลื่อนเข้าหาแอกตินทั้ง  2  ด้าน
ค.      ไมโอซิน  และ  แอกตินต่างเลื่อนตัวเข้าหากัน
ง.       เป็นไปได้ทั้ง   และ 
40.       นักเรียนคิดว่า  การหดตัวทำงานของกล้ามเนื้อ  คิดว่าต้องใช้อะไรอีกที่สำคัญ
ก.      ATP      
ข.      แสง
ค.      ฮอร์โมน
ง.       อุณหภูมิที่เหมาะสม


ความคิดเห็น

  1. พี่คะๆขอเพลงติ๊ดๆหน่อยคะ

    ตอบลบ
  2. ไม่ทราบว่ามีเฉลยไหมคะคุณครู

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง